โพสต์ของ ห้องเรียนปุ๋ยหมักแบบไม่พลิกกอง แม่โจ้


ห้องเรียนปุ๋ยหมักแบบไม่พลิกกอง แม่โจ้

13 มิถุนายน เวลา 08:13 น.  · 

อีตาจารย์ลุงเรียนจบโยธา แล้วไปเรียนต่อวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม …… เคยสอนอยู่ที่คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ม.แม่โจ้ จนเกษียณอายุ ……. วิชาที่สอนก็เป็นด้านวิศวกรรม ……. งานวิจัยส่วนใหญ่ก็เป็นด้านการทำปุ๋ยหมักแบบวิศวกรรมครับ คือเน้นต้องทำให้ได้ปุ๋ยหมักครั้งละมาก ๆ ……. ใครทำก็ต้องทำได้ ต้องได้ปุ๋ยหมักคุณภาพพรีเมียม ผ่านค่ามาตรฐานทุกครั้ง ……. ต้องง่าย …… ต้องไม่พลิกกอง ไม่เปลืองแรง …… ต้องไม่ใส่สารอะไรให้วุ่นวาย …… ต้องไม่มีกลิ่น ……. มีกำหนดเวลาแล้วเสร็จที่แน่นอน ……. มีขั้นตอนที่แน่นอน ใคร ๆ ก็สามารถทำตามได้ทีละบรรทัด …… ครู นักเรียน สาว ๆ ผู้สูงวัย เกษตรกร ชายหนุ่ม เซเลปหน้าตาดี ต้องทำได้ทุกคนครับ

ท่านใดที่ชอบปุ๋ยหมักมีกลิ่น ชอบใส่สารนู่น นี่ นั่น โน่น ชอบใส่น้ำหมัก น้ำจุลินทรีย์ ใส่กากน้ำตาล อีเอ็ม​ แกลบ รำ ดิน ชอบเหยียบกอง ชอบคลุมกอง ชอบทำในบ่อวง ถุง​ ถัง​ หรือทำในคอกทึบ ……. ก็แสดงว่ามาผิดกลุ่มแล้วครับ

ปุ๋ยหมักกลุ่มเราจะไม่มีกลิ่นตั้งแต่เริ่มทำจนเป็นปุ๋ย เพราะเน้นให้อากาศเข้ากองได้รอบ …….. กระบวนการย่อยสลายที่มีอากาศจะไม่สร้างกลิ่นครับ และไม่สร้างแก๊สโลกร้อน ไม่มีมีเทน ไม่มีแก๊สไข่เน่า

การทำให้ปุ๋ยหมักผ่านมาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ของประเทศ ไม่ใช่เรื่องง่าย ไม่ใช่ว่าสูตรอื่นจะผ่านกันได้ง่าย ๆ ครับ ……. แต่ปุ๋ยหมัก อจล ผ่านฉลุย ฮิฮิ ……. เก่งน้อตะเอง

ใช้แค่เศษพืชและมูลสัตว์ ……. เหมือนจะง่าย ๆ ทำเล่น ๆ แต่มันได้จริง ๆ ครับ …… ขายเป็นอาชีพร่ำรวยก็หลายคนแล้ว

ขอเพียงตวงสัดส่วนเศษพืชและมูลสัตว์ตามขั้นตอนให้ดี ไม่ดื้อ ไม่ซน ไม่มั่ว ไม่กะ ……. ขอเพียงวางเศษพืชและมูลสัตว์ตามวิธีทำ ……. และขอเพียงดูแลน้ำกองปุ๋ยตามที่กำหนด ……. ครบ 2 เดือน ทุกอย่างจะเปื่อยเป็นปุ๋ย แล้วทำให้แห้ง ก่อนใช้ หรือเก็บ

มีแกลบ ขุยมะพร้าว กาบ​มะพร้าว​ กิ่งไม้ ขี้เลื่อย เปลือกไข่ เปลือก​มังคุด​ เท่านั้น ที่ไม่เปื่อยในกองปุ๋ย อจล ครับ

เมื่อมีความชื้น มีอากาศในกองปุ๋ย น้องจุลที่มีในมูลสัตว์ก็จะตื่นออกมาหาอาหารกิน …… อาหารของน้องเค้าคือคาร์บอนและไนโตรเจนครับ …… ไม่ต้องไปเซเว่นเพื่อหาซื้อคาร์บอนและไนโตรเจนนะครับ ……. คาร์บอนมีในเศษพืชทุกชนิดแล้ว ทั้งแห้งและสด …… ไนโตรเจนก็มีในมูลสัตว์ทุกชนิด ทั้งแห้งและเปียก ……. เราก็เลยไม่ต้องเติมสารอะไรอีกแล้ว ……. ถ้าได้ตวงเศษพืชและมูลสัตว์ตามที่อีตาจารย์ลุงแกกำหนด น้องจุลก็จะได้สัดส่วนอาหารที่พอดี พอเหมาะ สามารถสร้างลูกหลานได้เร็ว เจริญเติบโตได้เร็ว ไปกลุ้มรุมกัดกินคาร์บอนในเศษพืช การย่อยสลายก็จะเกิดได้สมบูรณ์ครับ

ถ้าการย่อยสลายเกิดได้ไม่สมบูรณ์ เพียงเพราะเราขี้เกียจดูแลน้ำ 3 ขั้นตอน …… คาร์บอนก็จะเหลือเยอะในปุ๋ยหมัก …… ค่า C/N ratio ของปุ๋ยหมักหรือค่าคาร์บอนหารด้วยไนโตรเจนก็จะไม่ผ่านมาตรฐานครับ …… มาตรฐานไม่ให้เกิน 20 ครับ …… พอคาร์บอนเหลือเยอะ ค่านี้ก็จะเกิน …… ตกมาตรฐานเบย

เมื่อการย่อยสลายเกิดได้ไม่สมบูรณ์ ค่า N P K ก็จะลดลงด้วยครับ ตกมาตรฐานอีก …… ค่าการย่อยสลายสมบูรณ์หรือ GI ก็ไม่ผ่านอีก …… เฮ้อ

ถ้าทำใช้เอง ไม่ได้ขายให้ใคร จะขี้เกียจดูแลน้ำกองปุ๋ยก็ได้ครับ พืชก็ยังชอบอยู่ แต่ประสิทธิภาพการให้ผลผลิตของ​พืช​ก็จะลุ่ม ๆ ดอน ๆ หน่อยนะครับ …… เป็นไปตามยถากรรม ……. เหมือนกับการดูแลกองปุ๋ยไงครับ ฮิฮิ

เมื่อน้องจุลกัดกินคาร์บอนและไนโตรเจนอย่างมีความสุข น้องก็จะปล่อยพลังความสุขออกมาในรูปของความร้อนครับ …… ใครที่เคยทำปุ๋ยหมัก ก็จะสัมผัสความอุ่นหรือร้อนของกองปุ๋ยได้ครับ ……. กองใหญ่ก็จะร้อนมาก ….. วงตาข่ายก็จะร้อนรองลงมา …… ตะกร้าผ้า กะละมัง ก็จะอุ่นนิด ๆ …… เพราะความร้อนมันหายไปกับอากาศภายนอกได้เร็วครับ

สำหรับกองใหญ่ ที่ฐานกว้าง ๆ 1.5-2.5 ม. กองสูง 1.2-1.5 ม. จะมีเนื้อกองปุ๋ยที่มาก จะสะสมความร้อนได้มาก บางครั้งสูงถึง 70 องศาก็มี ซึ่งน้องเค้ายิ่งชอบครับ จะทำงานได้เร็วมาก ๆ …… อย่าไปเชื่อพ่อตา หรือเพื่อนบ้านนะครับ ที่ชอบกลัวว่าน้องจุลจะตายเพราะความร้อนในกองปุ๋ย แล้วชอบแนะให้ระบายความร้อน …… พวกเขาไม่รู้จักน้องจุลเสียล้าวววว …… น้องจุลกลุ่ม thermophiles ในกองปุ๋ยเค้าชอบความร้อนจัดจ้า กินเก่งมากเลย

กองปุ๋ยใหญ่แบบที่ 1 และ 2 จึงห้ามทำใต้ต้นไม้ครับ เพราะต้นไม้แสนรักจะตายได้ ควรห่าง 2 ม. …… แบบวงตาข่ายก็ควรห่าง 1.5 ม. …… แบบตะกร้าผ้า เข่ง วางใต้ต้นไม้ได้เลยครับ …… น้ำกองปุ๋ยที่ซึมออกมา จะมีธาตุอาหารที่พืชต้องการ ……. แล้วอย่าคิดนะงับ ว่าจะรดน้ำกองปุ๋ยเยอะ ๆ ให้น้ำออกมาแยะ ๆ เพราะการทำแบบนี้จะทำให้ปุ๋ยหมักจืดได้จ้า

พอน้องจุลกัดแทะคาร์บอนได้มาก ก็จะปลดปล่อยธาตุอาหารโบรอน โมลิบดินัม เหล็ก ทองแดง สังกะสี คลอรีน แมงกานีส นิกเกิ้ล แคลเซียม แมกนีเซียม ซัลเฟอร์ที่เคยมีในเศษพืช ….. ให้หล่นปุ๊ ตกลงมาอยู่ในปุ๋ยหมัก ……. การใช้ปุ๋ยหมัก อจล เมื่อไร พืชก็เลยจะกระดี๊กระด๊าออกนอกหน้าทุกครั้งจ้า

ทำกองปุ๋ยให้เยอะ ๆ นะครับ ทำให้พอใช้ ทยอยทำทุกเดือน เดือนละ 1-2 ตัน ปีหนึ่งก็ได้ 12-24 ตันแล้ว …… เหลือใช้ก็ทำดินปลูกขาย …… ดิน 4 ปุ๋ยหมัก 1 แกลบดิบหรือ​เปลือก​ถั่วลิสง​ 1 …… ร่ำรวย ๆ กันครับ

อ่านวิธีทำนะครับ แล้วลงมือทำตามทีละบรรทัด สงสัยอะไรก็ถามได้ครับ อย่าอาย อย่าเกรงใจ ……. เกษียณอายุแล้ว อีตาจารย์ลุงแกกลัวไม่มีใครเล่นด้วยอ่ะครับ ……. แกกลัวจะเสียชื่ออาจารย์ดีเด่นแห่งชาติปี 58 ด้วยมั้ง 555 ……. แกอยากเห็นสมาชิกมั่งคั่ง มั่นคง จากเศษพืชที่คนอื่นเผา จากเปลือกผลไม้ เศษอาหาร แทนที่จะลงขยะ ……. ร่ำรวยแล้วก็ไม่ต้องมาบอกกันก็ได้ …… ขาดทุนก็ยิ่งไม่ต้องมาบอก ฮิฮิ

#บรรทัดนี้ชอบม้ากกกกกกบรรทัดที่8

.

อ่าน​การทำ​ปุ๋ยหมัก​ 5 แบบ​ของ​จารย์​ลุง​นะครับ​

1.การทำปุ๋ยหมักแบบกองใหญ่รูปสามเหลี่ยม ไม่พลิกกลับกอง เสร็จใน 2 เดือน

https://www.facebook.com/groups/836331036476777/permalink/1113294255447119

2.การทำปุ๋ยหมักแบบกองเล็กรูปสี่เหลี่ยม ไม่พลิกกลับกอง 2 เดือนเสร็จ

https://www.facebook.com/groups/836331036476777/permalink/863796210396926

3.การทำปุ๋ยหมักในตะกร้า เข่ง หรือวงตาข่าย ไม่ต้องพลิก 2 เดือนเสร็จ

https://www.facebook.com/groups/836331036476777/permalink/1114723298637548

4.การทำปุ๋ยหมักในกะละมัง พลิกวันละครั้ง เดือนเดียวเสร็จ

https://www.facebook.com/groups/836331036476777/permalink/1116126828497195

5.การทำปุ๋ยหมักแบบผสมระหว่างแบบที่ 3 และแบบที่ 4

https://www.facebook.com/groups/836331036476777/permalink/1156267924483085

อ่านการทำปุ๋ยหมักจากเศษผัก เศษอาหาร เศษผลไม้

https://www.facebook.com/groups/836331036476777/permalink/890378687738678

Join The Discussion