“เรื่องการมาหาหมอ” จากแพทย์มหิดล

ความจริงเกี่ยวกับความเจ็บป่วย และ แพทย์ ที่ต้องตระหนักรู้

1 แพทย์ไม่ใช่เทวดา ไม่สามารถช่วยคุณทุกเรื่องได้ ช่วยได้เพียงบางเรื่องเท่านั้น

2 แพทย์แต่ละคน เก่งไม่เท่ากัน แพทย์ก็เป็นคน จึงมีอารมณ์และมีวันที่ทำงานดี วันที่ทำงานไม่ดี

3 แพทย์รักษาตามอาการ และ ตามยาที่มี การวินิจฉัยอาจถูกหรือผิดก็ได้

4 คนป่วย ต้องสังเกตตัวเอง แล้วแจ้งแพทย์ให้ละเอียด เพื่อช่วยตัวเองให้มาก อย่าเป็นคนป่วยที่ไม่รู้อะไรเลย แล้วคาดหวังว่าแพทย์จะรู้ทุกอย่าง

5 แพทย์ที่ดีรักษาตามตำรา และ ปสก. ถ้าวินิจฉัยผิด คือรักษาผิด ก็เท่านั้นเอง

6 คนป่วยต้องรู้ตัวว่า ถ้าทานยาแล้ว ไม่ได้ผล ต้องรีบหาแพทย์คนใหม่ ถ้าเป็นโรคที่ซับซ้อน เช่น ระบบประสาท ระบบกระดูก มะเร็ง ฯลฯ ควรพบแพทย์อย่างน้อยอีก 1~2 คน เพื่อความรอบคอบ

7 ถ้าแพทย์แนะนำอะไร ที่คุณไม่อยากทำ ก็ไม่ต้องทำ เช่น ผ่ากระดูกสันหลัง ผ่าต้นคอ ผ่ากระดูกหัวเข่า ผ่าสมอง ฯลฯ อวัยวะเหล่านี้ ต้องปรึกษาแพทย์อย่างน้อยอีก 1~2 คน ก่อนตัดสินใจ ที่ผ่านมา พบว่าหลายครั้ง ผ่าแล้ว แย่ยิ่งกว่าเดิม

8 แพทย์แต่ละคน แม้จบมาจากที่เดียวกัน แต่ ความชำนาญ และ หลักการรักษาต่างกัน ร่างกายคนป่วยแต่ละคน ไม่เหมือนกัน เช่น โรควัยทอง แพทย์บางคน รักษาโดยใช้ฮอร์โมน บางคนไม่ใช้ฮอร์โมน เพราะ บางคน จะเพิ่มโอกาสการเป็นมะเร็งมากขึ้น

9 ใครที่หมดอายุขัย หมอรักษาเก่งอย่างไร ก็ตาย คนที่ป่วยหนัก ผงาบผงาบ ไม่ถึงที่ตาย หมอไม่ให้ความหวังเลย อาจหายป่วย เป็นปกติได้

10 ส่วนใหญ่คนที่ป่วย มาจากอาหารและเครื่องดื่ม ที่คุณดื่ม/กิน ป่วยจากสภาพแวดล้อมของคุณ ป่วยจากกิจกรรมเสี่ยงๆ เช่น การขับรถ เมา ฯลฯ

11 ขอย้ำว่า ร่างกายแต่ละคนไม่เหมือนกัน แม้ แพทย์คนเดียวกัน รักษาวิธีเดียวกัน คนป่วยที่เป็นโรคเดียวกัน คนหนึ่งอาจรอด คนหนึ่งอาจตาย

ทุกคน ต้องไม่ฝากความหวังทั้งหมดไว้ที่แพทย์ และยา ตัวเอง ต้องเข้าใจอาการป่วยของตัวเอง ให้ความร่วมมือกับแพทย์ในเบื้องต้น แต่ ถ้าไม่แน่ใจ ให้ปรึกษาแพทย์อีก 1~2 คนในเรื่องเดียวกัน

ทุกคน ต้องดูแลตัวเอง อย่าทานยาพร่ำเพรื่อ ไม่ต้องเชื่อแพทย์ทุกอย่าง แพทย์ไม่ใช่เทวดา ถ้าสงสัย ต้องถาม ไม่สงสัย ก็ทำตาม

อย่าปล่อยทุกอย่างขึ้นอยู่กับแพทย์ แล้วไปโทษแพทย์ทุกเรื่อง แพทย์ท่านทำตามหน้าที่ ทำตามความสามารถของแต่ละท่าน ซึ่งไม่เท่ากัน

Cr.อาจารย์แพทย์ ที่ ม.มหิดล

Join The Discussion

Compare listings

Compare